วันเสาร์, มิถุนายน 01, 2556
ก่อนอื่นเกิร์ลขอแจ้งข่าวก่อนว่า  ตัวยา Alprazolam ซึ่งเดิมเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ประเภทที่๔
ถูกยกระดับให้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ประเภทที่๒ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๖
(กำหนดครบ 180วัน ในวันที่ 16 มิถุนายน 2556)


โหลดประกาศฉบับนี้ที่ http://narcotic.fda.moph.go.th/welcome/wp-content/uploads/2012/01/Alprazolam-_v673_56.pdf
กองควบคุมวัตถุเสพติด http://narcotic.fda.moph.go.th/welcome/


การประกาศนี้เกิดขึ้นจากการใช้ยาอัลปร้าโซแลมไปในทางที่ผิด
(สังเกตได้ว่ายาใดมีการใช้ในทางที่ผิดมาก ยานั้นก็จะถูกยกระดับขึ้นไปเรื่อยๆ)
คำว่ายกระดับขึ้นไป สังเกตได้จากกลุ่มยาตามกฎหมาย

ยาสามัญประจำบ้าน : เป็นยาบรรเทาอาการเบื้องต้นยามฉุกเฉิน
 แม้ฤทธิ์จะไม่ดีมาก แต่อันตรายไม่มาก(ถ้าไม่ใช้อย่างวิปริตวิปลาศมากเกินไป)
ยาอันตราย : อันตรายมากขึ้น ต้องใช้ความซับซ้อนในการพิจารณาใช้ยาเพื่อให้ประสิทธิภาพคุ้มผลเสีย
ยากลุ่มนี้จึงเป็นยาที่ 1. จะต้องจ่ายโดยเภสัชกรวิชาชีพ(เรียนจบแต่สอบใบประกอบฯไม่ผ่านก็จ่ายไม่ได้)
2. จะต้องจ่ายที่สถานที่ที่ขออนุญาตไว้ (ขายทางออนไลน์ไม่ได้ ดิลิเวอร์รี่ไม่ได้ ต้องไปรับที่สถานที่ที่ขออนุญาตเท่านั้น)
ยาควบคุมพิเศษ : อันตรายมากขึ้นไปอีก ต้องตรวจร่างกาย/ตรวจแลปควบคู่กันไป
เป็นยาที่ A. ต้องมีใบสั่งแพทย์เท่านั้น B. จะต้องจ่ายในสถานที่ที่ขออนุญาตไว้ โรงพยาบาล, คลินิก, ร้านยา

ย้อนกลับมาที่วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
เหตุผลของการพิจารณาจัดสารใดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ฯประเภทใดนั้น ใช้หลักเกณฑ์หนึ่งคือการนำไปใช้ในทางที่ผิด
และหลักเกณฑ์อื่น เช่น ประโยชน์ทางการแพทย์
วัตถุออกฤทธิ์ฯ ประเภทที่1 : ประโยชน์ทางการแพทย์น้อยมาก นำไปใช้ในทางที่ผิดได้มากและอันตรายสูง
                     ประเภทที่2 : ใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้บ้าง นำไปใช้ในทางที่ผิดได้มากและอันตรายสูง
                     ประเภทที่3 : ใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ นำไปใช้ในทางที่ผิดและอันตรายปานกลาง
                     ประเภทที่4 : ใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้มาก นำไปใช้ในทางที่ผิดและอันตรายต่ำ


สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อมีการประกาศดังกล่าว
ร้านยา  // ต้องส่งคืนยา(ให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า)ภายในวันที่ 16 มิ.ย. 2556
คลินิก/โรงพยาบาล/หน่วยงานต่างๆ // ต้องมีใบอนุญาตครอบครอง
และต้องทำรายงาน 3 ฉบับ คือ บ.จ. ๘, ๙, ๑๐ (บัญชีรับจ่าย, รายงานประจำเดือน, ประจำปี ตามลำดับ)
แล้วเก็บเอกสารไว้ 2ปี นับจากวันสุดท้ายที่ลงในบัญชี
ผู้ผลิต/ผู้นำเข้า // ต้องทำลายยาภายในวันที่ 16 มิ.ย. 2556

สำหรับประชาชน // ถ้าครอบครองวัตถุออกฤทธิ์ฯประเภทนี้
จะต้องมีหลักฐานแสดงเช่น ใบสั่งแพทย์ ใบรับรองแพทย์ ข้อมูลบนซองยาต้องมีข้อมูลชื่อผู้ป่วย,ชื่อโรงพยาบาล/หน่วยงานที่รับมา
ถ้าประชาชนครอบครองโดยไม่มีหลักฐาน มีความผิดตามกฎหมาย
หากไม่ทำตามนี้จะต้องถูกปรับ 20,000-1000,000บาท จำคุก 1-5ปี
ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาจึงต้องเก็บหลักฐานแสดงเมื่อถูกขอตรวจ ไม่ควรเก็บยานอกเหนือจากซองยาที่ได้รับจากโรงพยาบาล

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น