ยาแก้ปวดตัวที่"ผู้ป่วยตอบสนองได้ดีที่สุด"
เกิร์ลไม่ได้พูดให้ผู้อ่านหมั่นตับอยากจับหัวเกิร์ลกระแทกกำแพงนะคะ
หลักการเลือกยาแก้ปวดให้กับคนไข้แต่ละคนเป็นเช่นนี้จริงๆ
ประสิทธิภาพการแก้ปวดของยาแต่ละตัวแทบจะไม่แตกต่างกัน
ผู้ป่วยเองต่างหากที่ตอบสนองต่อยาแก้ปวดแต่ละตัวได้ดีไม่เท่ากัน
ค่ะ ข้อสรุปว่ายาแก้ปวดตัวไหนเป็นยาแก้ปวดที่ดีที่สุดมีเพียงแค่นี้
คือ ขึ้นอยู่กับร่างกายของผู้ใช้ยาเป็นสำคัญ
นอกจากนั้น เกิร์ลมีข้อแนะนำเพิ่มเติมนิดหน่อย ดังนี้ค่ะ
1. ผู้ใช้ยาควร สังเกตผลการใช้ยาของตัวเอง
2. การจดจำตัวยา อย่าจดจำที่ยี่ห้อ ควรจดจำที่ตัวยา
3. สังเกตว่า ตนเองใช้ยาตัวนั้นชื่อยาอะไร
ชื่อยามักจะตามด้วยความแรงของยา เช่น
- Ibuprofen 400mg
- Mefenamic acid 250mg หรือ 500mg เป็นต้น
โดยที่ไม่ต้องสนใจชื่อยี่ห้อ เพราะยาตัวเดียวกันที่ต่างยี่ห้อกันแทบจะไม่มีความแตกต่างกัน
3.1 ถ้าร่างกายเราตอบสนองต่อยาได้ดี
ครั้งหน้าก็เรียกขอยาเดิมได้
แพทย์จะพิจารณาให้ว่ายาเดิมตัวนี้ จะเหมาะกับสภาวะโรคในตอนนั้นหรือไม่
3.2 ถ้าร่างกายเราตอบสนองต่อยาไม่ดี
ครั้งหน้าก็แจ้งแพทย์ได้ว่า
หมอคะหมอขาครั้งก่อนใช้ยาตัวนี้รู้สึกว่าไม่ค่อยหายปวดเลย
คุณหมอก็จะพิจารณาให้ค่ะ ว่าสภาวะโรคตอนนั้น คนไข้จะเหมาะกับยาตัวไหนมากกว่า
4. ถ้าเป็นยาต้องทานหลังอาหาร
หากคนไข้ทานอาหารไม่ได้หรือลืม ควรทานมื้อเบาๆ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ขนมปัง เป็นต้น
หากจะดื่มนมรองท้อง อย่าดื่มเลยค่ะ, ดื่มยากับน้ำเปล่าแยอะๆไปเลยดีกว่า
สนใจอยากทราบเหตุผล คลิ๊กที่นี่ เพื่อไปบล๊อกผลข้างเคียงยา... ได้เลยค่ะ
5. ยาทุกตัวมีผลข้างเคียง
ยาแก้ปวดแต่ละตัวมีผลข้างเคียง/ผลอื่นแตกต่างกัน
เช่น มีข้อมูลว่า ผู้ป่วยที่ใช้ยาแก้ปวด Diclofenac
เป็นโรคทางหลอดเลือดและหัวใจ มากกว่าผู้ใช้ยาแก้ปวด Naproxen เป็นต้น
ฉะนั้น ทุกครั้งที่ผู้ป่วยพบแพทย์หรือเภสัชกร "ถ้าผู้ป่วยมีโรคประจำตัว / ใช้ยาอะไรอยู่ ก็ควรแจ้งด้วย"
การแจ้งข้อมูลนี้ จะเป็นประโยชน์กับตัวผู้ใช้ยา และจะเป็นประโยชน์มากในผู้ป่วยที่มีโรค/ยาประจำตัว
6. ยาแก้ปวดเป็นยารักษาตามอาการ ยกเว้นการรักษาบางแบบที่คุณหมอแจ้งเป็นอย่างอื่น
ฉะนั้น ถ้าอาการปวดหายแล้ว ก็เลิกทานยาได้
7. ยาแก้ปวด/ลดไข้ ที่เป็นยาพื้นฐานและประชาชนเข้าถึงได้ง่ายคือ Paracetamol
Paracetamol เป็นยาแก้ปวด/ลดไข้ ที่เป็นยาสามัญประจำบ้าน ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร
เป็นยาประจำบ้านเพื่อบรรเทาอาการ หรือรักษาอาการเบื้องต้นโดยไม่จำเป็นต้องทานหลังอาหารก็ได้
"พาราเซตามอล ไม่ใช่ที่ยาแก้ปวดไข้ได้ดีที่สุด"
ฉะนั้น ถ้าคุณหมอจ่ายยาแก้ปวด/ลดไข้ตัวอื่นมาแล้ว คนไข้ไม่จำเป็นต้องใช้พาราเซตามอลเพิ่มไปอีก
เพราะอาจไม่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ แต่อาจเพิ่มผลข้างเคียงได้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น