วันพุธ, พฤษภาคม 29, 2556
1
สรุปโดยสั้นที่สุด
ฮอร์โมน"โปรแลคติน(Prolactin(PRL))" กระตุ้นต่อมน้ำนมให้ผลิตน้ำนม
โดปามีนในสมองยับยั้งโปรแลคติน
ยาดอมเปอริโดน(Domperidone) (ชื่อยา, ยาตัวนี้มีผลิตออกมาหลายยี่ห้อ) ต้านโดปามีน(d2(dopamine) antagonist)
ฤทธิ์จากการต้านโดปามีน ทำให้มีผลต่างๆ เช่น ต้านการอาเจียน1,  ยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบที่กระเพาะอาหาร2,
และที่เกี่ยวกับน้ำนมคือ ทำให้โดปามีนซึ่งต้านโปรแลคตินน้อยลง ทำให้โปรแลคตินมากขึ้น3

ที่มาของรูปนี้ : http://www.cmaj.ca/content/169/6/575/F1.expansion.html

คุณผู้ชมอย่าเพิ่งตกใจกับรูปนี้นะคะ เกิร์ลจะแนะนำทีละสเต็ปให้เข้าใจง่ายๆ
1. รูปสีม่วงที่เราเห็นคือต่อมใต้สมองของเรา
1.1 ต่อมใต้สมองนี้มีส่วนหน้า(Anterior Pituitary lobe) และส่วนหลัง(Posterior pituitary lobe)
1.2 ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ "Prolactin" ซึ่งเกี่ยวกับการหลั่งน้ำนม คือต่อมใต้สมองส่วนหน้า


2. โฟกัสไปที่ โปรแลคติน
2.1 คุณผู้ชมจะเห็นลูกศรสี่อัน พร้อมเครื่องหมาย +
2.2 มาดูสัญลักษณ์ที่ขวาล่างของรูป
2.3 ลูกศรที่มาพร้อมเครื่องหมาย + คือการส่งสัญญาณกระตุ้น(Stimulatory signal)
2.4 ลูกศรทั้งสี่ที่กระตุ้น"โปรแลคติน:ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นการหลั่งน้ำนม" คือ
2.4.1 ลดการทำลาย"โปรแลคติน"[Reduced PRL elimination]
 (เมื่อถูกทำลายน้อยลง ก็เหลือโปรแลคตินมาก/นานขึ้น) 
ซึ่งมีตัวอย่างเช่น การมีตับ/ไตบกพร่อง (ทุกอย่างในร่างกายล้วนต้องถูกขับออกมา ไม่เว้นแม้แต่ฮอร์โมนในสมอง
ตับไตเป็นสองอวัยวะหลักที่ทำลาย/ขับของเสียออกจากร่างกาย
ถ้าตับไตไม่ดี จะมีผลต่อการทำลาย/ขับ"โปรแลคติน"ด้วย
เมื่อการทำลายน้อยลง โปรแลคตินก็อยู่ได้นาน/มากขึ้น 
2.4.2 โมเลกุลที่ผิดปกติ[Abnormal molucules]
ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาหรืออะไรก็แล้วแต่ จะออกฤทธิ์ได้ก็ต่อเมื่อผ่านเข้าไปในอวัยวะเป้าหมายได้
ตัวรับเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าตัวรับ(เสมือนแม่กุญแจ)เข้ากันได้กับสารที่ส่งมา(เสมือนลูกกุญแจ) 
เขาจะจับกันได้เปิดประตูให้สารนั้นเข้าไปในอวัยวะเป้าหมายได้ ออกฤทธิ์ได้
แต่เมื่อแม่กุญแจมีรูปร่างเปลี่ยนไป ลูกกุญแจก็ไขไม่ได้ โปรแลคตินจับตัวรับไม่ได้ก็ออกฤทธิ์ไม่ได้
2.4.3 การผลิต"โปรแลคติน"เพิ่มขึ้น[Increase PRL production]
ข้อนี้จะต้องอธิบายลึกและยาวไปถึงอาการ/สภาวะโรค เกิร์ลจึงขอสรุปสั้นๆ
(คุณผู้ชมสังเกตไปที่คำว่า syndrome และ tumour)
ว่ามีอาการ/สภาวะโรคที่มีผลทำให้"โปรแลคตินถูกผลิตเพื่มขึ้น"
2.4.4 Other cause 
ปัจจัยอื่นๆ ซึ่งอาจจะยังไม่ถูกค้นพบ

3. ใครอ่านข้อ 2. จนจบบ้างคะ
หากอ่านจนจบเกิร์ลขอเฉลยว่า "ยังค่ะ" 
ข้อ 2. ที่กล่าวมายังไม่ใช่กลไกที่ยาแก้คลื่นไส้ (Domperidone) ทำให้น้ำนมไหล(ได้/มากขึ้น)
ไปต่อข้อ 4. กันค่ะ

4. ลูกศรพร้อมเครื่องหมาย + ของเอสโตรเจน
4.1 Physiologic causes คือผลทางสรีระวิทยา
เช่น เมื่อมีการตั้งครรภ์ ก็จะมีกลไกการกระตุ้นโปรแลคติน เพื่อเตรียมพร้อมเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น

5. ลูกศร - ของ Dopamine (ดูเฉพาะลูกศรลบจากโดปามีนมาต่อมใต้สมองก่อนนะคะ)
จากความหมายของลูกศร - คือการต้านกัน "โดปามีนทำให้ต่อมใต้สมอง(ส่วนหน้า)หลั่งโปรแลคตินน้อยลง"
อย่าเพิ่งฉงน ข้อนี้ล่ะค่ะคือคำอธิบายของผลที่ตัวยา Domperidone ทำให้น้ำนมไหลหรือเพิ่มน้ำนมได้
5.1 Domperidone คือชื่อตัวยาซึ่งมีฤทธิ์หนึ่งคือ Dopamine(2) antagonist 
ย้อนกลับไปที่บทสรุปย่อหน้าแรกกันค่ะ.. นี่คือที่มาของบทสรุปนั้น
แต่ค่ะแต่ แต่มันยังไม่จบ ไปข้อ 6. กันต่อค่ะ

6. สิ่งที่มีผล - กับโดปามีน มีลูกศร 2 เส้น
6.1 Neurogenic 
6.1.1 การบาดเจ็บของผนังเต้านม 
6.1.2 การกระตุ้นเต้านม***
6.1.3 การให้นมบุตร***
***สองข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญ คุณแม่ให้นมบุตรที่มีปัญหากับปริมาณน้ำนม
เกิร์ลขอแนะนำให้ให้ความสำคัญกับวิธีการให้นมบุตรและการกระตุ้นเต้านม
สองข้อนี้เป็นปัจจัยที่ดีและไม่อันตราย
---> การใช้ยาไม่ใช่คำตอบของการเพิ่มปริมาณน้ำนม
แต่เป็นแค่เพียงการแก้ปัญหาวิธีหนึ่งเมื่อทำวิธีอื่นไม่ได้ผลแล้ว
ยาที่ทานเข้าไปมีผลกับร่างกายได้หลายอย่าง สิ่งหนึ่งที่อยากแนะนำไว้คืออาการกล้ามเนื้อหรือหน้ากระตุก
ถ้าทาน Domperidone แล้วมีอาการกระตุกนี้ ขอให้ผู้ทานรีบปรึกษาคุณหมอทันที
นอกจากนี้ก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจจะใช้ยานี้ด้วยค่ะ
อ๊ะๆ ยังนะคะยังไม่จบ
6.2 Medications
ยังมียาอีกหลายตัวที่มีผลต่อน้ำนม (คือมีผลข้างเคียงทำให้น้ำนมไหลได้
แต่เกิร์ลไม่กล่าวถึงตั้งแต่ต้นเพราะไม่สมควรนำมาใช้เพื่อกระตุ้นน้ำนม"ไม่สมควรอย่างแรง"
ตัว Domperidone เองก็ใช่ว่าจะไม่อันตราย แต่ก็พอใช้ได้ตามคำแนะนำดูแลของแพทย์

7. Hypothalamic PRL stimulation
ข้อนี้เป็นการกระตุ้น โปรแลคติน ผ่านต่อมอีกต่อมหนึ่ง
ซึ่งสองชื่อที่เป็น -dism และ insufficiency คืออาการผิดปกติ (เกิร์ลขอไม่กล่าวถึงนะคะ)

ก่อนจะจบเกิร์ลขอย้ำสักเล็กน้อยว่า...
ยา Domperidone ไม่ใช่ยากระตุ้นน้ำนม เพียงแต่เป็นยาแก้คลื่นไส้ที่สามารถนำมาแก้ไขปัญหาน้ำนมไม่ไหลได้
นั่นก็คือ ถ้าไม่จำเป็นก็เพิ่มหรือกู้คืนน้ำนมด้วยวิธีการอื่นจะดีกว่าค่ะ
ปล, ยานี้ยังมีผลข้างเคียงอื่น เช่น สมรรถภาพทางเพศลดลง เป็นต้น






1 ความคิดเห็น: