วันเสาร์, ธันวาคม 07, 2556

ถ้ารู้ข้อใดแล้วข้ามไปได้นะคะ, เกิร์ลจะคัดประเด็นสำคัญๆที่มีประโยชน์ยิ่ง
ใช้เวลาเพียงน้อยนิด แต่ใช้ได้ตลอดชีวิตค่ะ

1. พาราเซตามอล (Paracetamol) คือชื่อตัวยา
ยาตัวนี้มีหลายยี่ห้อ บริษัทจะตั้งชื่อสินค้าว่าอะไรก็ได้,
แต่พาราเซตามอลคือชื่อตัวยาที่จะออกฤทธิ์รักษา 
โดยที่พาราเซตามอลเอง มีชื่อเล่นอื่นๆอีกเช่น อะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) เป็นต้น

2. พาราเซตามอล แก้ปวดลดไข้ได้เล็กน้อยถึงปานกลาง
การใช้ยาที่จะได้ผลคือ "ทานทันทีเมื่อปวด" เพราะ
2.1 พาราเซตามอลทุกยี่ห้อ ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร
ทานได้ทันทีไม่ต้องรองท้องก่อน
2.2 พาราเซตามอลทุกยี่้ห้อ เป็นยาสามัญประจำบ้าน
2.3 พาราเซตามอล แม้จะแก้ปวดลดไข้ได้น้อย แต่ก็มีผลข้างเคียงน้อยเช่นกัน
2.4 ถ้าปล่อยให้ทนไม่ไหวหรือปวดไปนานๆแล้วค่อยทาน
ระดับความปวดจะเกินกว่าที่ยาพาราเซตามอลจะมีประสิทธิภาพ
ฉะนั้น.. การใช้ยาพาราเซตามอลที่ได้ผลคือ "ทานทันทีเมื่อปวด"

3. พาราเซตามอล เป็นตัวเลือกแรกสำหรับการทานแก้ปวดลดไข้
ยาที่แก้ปวดลดไข้ดีกว่าพาราเซตามอล 
(เช่น ยากลุ่ม NSAIDs อาทิเช่น Ibuprofen, Mefenamic acid เป็นต้น)
แก้ปวดลดไข้ได้ดีกว่าแน่นอน แต่ก็มีผลข้างเคียงมากกว่าเช่นกัน
ฉะนั้น... ถ้าทานพาราเซตามอลแล้วหาย ยาพาราเซตามอลคือยาที่ดีที่สุด


4. ผลข้างเคียงของพาราเซตามอล คือพิษต่อตับ จึง
4.1 ห้ามทานเกิน 2 กรัม ต่อวันสำหรับผู้ใหญ่
(คิดเป็น พาราเซตามอล เม็ดละ 500มิลลิกรัม จำนวนไม่เกิน 8 เม็ด)
4.2 ห้ามทานติดต่อกันเกิน 5 วัน
(ถ้าทานติดต่อกันมานานขนาดนี้แล้วไม่หาย
แสดงว่าพาราเซตามอลไม่ใช่ยาที่เหมาะสม
ควรเปลี่ยนเป็นยาอื่นที่เหมาะสมกว่า)
4.3 ห้ามผู้ที่มีปัญหาเรื่องตับทานพาราเซตามอล

5. ยาพาราเซตามอล หลากหลายยี่ห้อตามท้องตลาด 
ถ้าจะมีความแตกต่างกันบ้าง ก็ตรงความสามารถในการละลาย
เพราะยาจะออกฤทธิ์ได้ก็ต่อเมื่อ ยาแตกตัว,ละลาย,ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด แล้วเดินทางไปถึงเป้าหมายที่เกิดโรค
นี่คือขั้นตอนพื้นฐานของการทำงานของยา
- ยาที่แตกตัวไม่ดี ละลายน้ำได้ไม่ดี ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ไม่ดี, 
เดินทางไปสู่จุดเกิดโรคได้ไม่ดี,ยานั้นก็จะออกฤทธิ์ได้ด้อยกว่า.
- ยาที่แตกตัวละลายน้ำได้ดี มีโอกาสที่จะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ดี,
จึงมีโอกาสที่จะออกฤทธิ์ได้ดีกว่า.
พาราเซตามอลก็เช่นกัน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น