วันอังคาร, พฤษภาคม 07, 2556
คำเตือน
ข้อมูลในบล๊อกเกิร์ล ไม่เพียงพอให้ผู้ใช้ยานำไปเลือกใช้ยาเองหรือต่อต้านการรักษาที่ปฏิบัติอยู่
บล๊อกนี้เกิร์ลเขียนขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ยาเข้าใจกับยาที่มีอยู่มากขึ้นในอีกรูปแบบการสื่อสารเท่านั้น
หากอ่านแล้วมีข้อไม่แน่ใจหรือสงสัยประการใด
ขอให้สอบถามผู้ประกอบวิชาชีพที่ดูแลอาการอยู่ หรือฝากคำถามไว้ที่ใต้บล๊อกนี้ค่ะ


รูปแบบการให้ข้อมูล จะเป็นการบอกแยกส่วนประกอบของยาลดกรดนะคะ
จะช่วยให้ผู้ใช้ยาที่มีอาการอื่นร่วม เช่น ท้องผูก ท้องเสีย ทานนมร่วมด้วย เข้าใจการใช้ยาในแต่ละสภาวะมากขึ้น
ยาลดกรดในท้องตลาดประเทศไทย ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยส่วนประกอบดังนี้
แบ่งเป็นแบบที่บรรเทาอาการ 1.-5. และรักษาที่สาเหตุ 6.


1. Aluminium Hydroxide (Al(OH)3 : อลูมิเนียมไฮดรอกไซด์)
ตัวนี้จะมีฤทธิ์ในการลดกรดน้อย
มีฤทธิ์ทำให้ท้องผูกด้วย (ลดการเคลื่อนไหวของทางเดินอาการ อาจนำไปสู่ริดสีดวงทวาร)
     ผู้ป่วยโรคตับหรือผู้ที่มีปัญหาเรื่องการขับถ่าย ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ตัวนี้เดี่ยวๆในการลดกรด
มีฤทธิ์ทำให้ฟอสเฟสในเลือดต่ำ(หากนำมาใช้เพื่อหวังผลลดฟอสเฟตในเลือด แนะนำเกลือแคลเซียมก่อน
จะพิจารณาใช้ Al(OH)3 ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยมีแคลเซียมในเลือดต่ำอยู่เป็นทุนเดิม )
     ถ้าใช้ตัวนี้เดี่ยวนานๆอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เพลีย Osteomalacia
การใช้ Al(OH)3 เดี่่ยวๆในการลดกรด จึงแนะนำเฉพาะผู้ที่มีอาการ "ท้องเสีย" ร่วมด้วย
นอกจากนี้ ผู้ที่ใช้ยาอื่นอยู่ด้วยบางตัวจะต้องเว้นระยะเวลาให้ห่างกับยาตัวนี้ ~2ชั่วโมง
ตัวอย่างยาดังกล่าวเช่น ยาฆ่าเชื้อ Ketoclonazole, ยาปฏิชีวนะ Tetracyclin, ยากันชัก Phenytoin,
ยาลดความดัน, ยาเบาหวาน, ยาต้านวัณโรค, ยาต้านมาลาเรีย, ธาตุเหล็ก, วิตามินดี และอื่นๆ

2. Magnesium Hydroxide (Mg(OH)2) 
( หรือรู้จักกันในชื่อ Milk of magnesia)
ถ้ามียานี้อยู่ในมือ บนฉลากอาจระบุว่า เป็นยาระบาย
ค่ะ ตัวนี้มีฤทธิ์ช่วยในการระบาย ผู้ที่มีปัญหาท้องเสียจึงควรเลี่ยงยาตัวนี้
การใช้ Mg(OH)2 เดี่ยวๆมาใช้ลดกรด จึงแนะนำเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกร่วมด้วย

3. ยาผสม Al(OH)3 และ Mg(OH)2
จากการที่ Mg(OH)2 ช่วยระบาย และ Al(OH)3 อาจทำให้ท้องผูก
จึงมีการนำ Mg(OH)2 + Al(OH)3 มารวมกันเพื่อใช้ลดผลข้างเคียงท้องผูกท้องเสียซึ่งกันและกัน

ยากลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มหนึ่งที่ใช้ในการลดกรดกันมาก
ยาจะมีอนุภาคขนาดเล็กครอบคลุมพื้นที่กระเพาะอาหารและออกฤทธิ์ลดกรด*ได้เร็ว
*ขอย้ำว่า ยากลุ่มนี้(ข้อ 1.-5.)จะช่วยลดความเป็นกรดของกรดที่หลั่งออกมาในกระเพาะอาหารแล้วเท่านั้น


4. ยาลดกรดที่มี Calcium เป็นส่วนประกอบ
เนื่องจาก Calcium ไปกระตุ้นกรด แกสตริน ในกระเพาะอาหารได้
ถ้าเลือกใช้ยาลดกรดเองอยู่แล้วพบว่ายาที่ทานมีส่วนประกอบของ Calcium ร่วมด้วย
เกิร์ลขอแนะนำให้หยุดยาตัวนั้นก่อน และเลือกใช้ยาลดกรดกลุ่มอื่น
นอกจากนี้ ถ้าใช้ยาลดกรดกลุ่มนี้นาน อาจทำให้แคลเซียมในเลือดสูง เลือดมีความเป็นด่างมากขึ้น
อาจนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ เช่น ไตวายได้

ด้วยสาเหตุที่แคลเซียมกระตุ้นการหลั่งกรดแกสตรินในกระเพาะอาหาร
และนมไม่สามารถลดการระคายเคืองจากยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ได้
(Paracetamol แก้ปวดลดไข้น้อยกว่ากลุ่ม NSAIDs  ไม่ระคาบเคืองกระเพาะอาหาร แต่มีพิษต่อตับ)
จึงไม่แนะนำให้ทานนมรองท้อง 
เพราะนอกจากไม่ลดผลข้างเคียงระคายเคืองกระเพาะอาหารแล้ว อาจทำให้ได้รับผลข้างเคียงมากขึ้นได้


5. Simethicone
ยาตัวนี้ทำงานโดยลดการเกิดฟอง ช่วยลดอาการท้องอืดหรือสะอึกร่วมได้
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้มาก คือเรอ นอกจากนั้นก็คือ คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว

ยาทั้ง 5 กลุ่มที่กล่าวไปนี้ .. คือยาบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ได้รักษาที่สาเหตุเช่นยากลุ่มที่ 6.

6. ยายับยั้งการหลั่งกรด ยาที่ช่วยยับยั้งการหลั่งกรดมี 2 กลุ่ม(ไม่ต้องจำ)
คือ H2RA : เช่นตัวยา Ranitidine และ PPI : เช่นตัวยา Omeprazole
ยากลุ่มนี้จะยับยั้งการหลั่งกรด คือรักษาที่สาเหตุ
ผู้ป่วยบางคนที่ได้รับยาตัวนี้จากคุณหมอ จึงได้รับคำแนะนำให้มาทานประจำ
(ถ้าทานยานี้ควบคู่กับการปรับพฤติกรรมร่วมด้วย จะช่วยให้หายขาดได้)




  1. เพื่อนภสัชกรในสายงานร้านยาเล่าว่า คนไข้หรือลูกค้าหลายคนกลัวการทานยามาก
  2. คิดว่ายาบรรเทาอาการใช้เฉพาะเวลาที่มีอาการจะดีกว่ายาที่ต้องทานประจำ(กลุ่มที่ 6.)

  3. กรณีนี้เกิร์ลขอให้ข้อมูลว่า สิ่งที่ผู้ที่มีปัญหาเรื่องกรดในกระเพาะอาหารทุกคนจะต้องทำ
  4. คือปรับพฤติกรรมในการรับประทาน หากทำไม่ได้หรือไม่เพียงพอก็ต้องพึ่งยาเพื่อบรรเทาและรักษา
  5. การบรรเทานั้นทำให้อาการที่เกิดขึ้นแล้วลดลง ส่วนการรักษาเป็นการลดอาการในอนาคตหรือรักษาให้หายขาดได้

  6. ยายับยั้งการหลั่งกรด Omeprazole เป็นยาตัวหนึ่งที่รักษาอาการกรดในกระเพาะอาหารได้ดี
  7. ถ้าผู้ป่วยมีวินัยปรับพฤติกรรม และทานยาเพื่อรักษาจนหายขาด ผู้ป่วยก็ไม่ต้องทานยาอีกต่อไป

  8. อันตรายที่อาจเกิดขึ้นของยาบรรเทาอาการที่ทานเฉพาะเวลที่มีอาการ(ย้อนกลับไปดูข้อมูลของแต่ละตัวได้ค่ะ)
  9. ไม่ได้น้อยกว่ายากลุ่มรักษาที่ต้องทานประจำในระยะเวลาหนึ่งเพื่อรักษาโรคเลย


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น