คุณผู้ชมขา
การขาดน้ำจากการเสียเหงื่อ(ออกกำลังกาย)นั้น เป็นการขาดน้ำแบบ HypoTonic
ส่วนการขาดน้ำจากการท้องเสีย (หรือได้รับยาขับปัสสาวะที่มากเกินไป) เป็นการขาดน้ำแบบ Isotonic
อ๊ะๆ รู้นะคะว่าคนที่คุ้นเคยกับศัพท์ทางนี้หน่อยจะสงสัยต่อว่า..
แล้วการขาดน้ำแบบ HyperTonic น่ะมีมั้ย??
โฮ่ะโฮ่ มีค่ะคุณผู้ชม,
ลักษณะการขาดน้ำแบบนี้จะเกิดขึ้นไม่มากเท่าสองแบบแรก
จะเกิดขึ้นบ้างในคนที่รับสารน้ำน้อย เป็นไข้ ลักษณะนี้
คุณผู้ชมคะ เกิร์ลขออธิบายสั้นๆนิ้ดดดนึง รับรองว่าจะช่วยให้คุณผู้ชมเข้าใจคำว่า Hypo/Iso/HyperTonic มากขึ้น
ศัพท์ Hypo- มาจากรากศัพท์ที่แปลว่า น้อยกว่า
ศัพท์ Iso- คือเท่ากัน
Hyper- คือมากกว่า
จินตนาการถึงคำว่าเด็กไฮเปอร์, คนไข้ไฮเปอร์/ไฮโปไทรอยด์นะคะ
ในทางสารน้ำ...
HypoTonic ก็คือการเสียน้ำน้อยกว่าโซเดียม
IsoTonic คือเสียน้ำและโซเดียมเท่าๆกัน
HyperTonic คือเสียน้ำมากกว่าโซเดียม
ว้าว มาถึงตอนนี้คุณผู้ชมกลับไปที่ย่อหน้าแรกที่เกิร์ลยกตัวอย่างการขาดน้ำแบบ HyperTonic นะคะ
>> ลักษณะการขาดน้ำแบบ HyperTonic จะเกิดขึ้นบ้างในคนที่รับสารน้ำน้อย เป็นไข้
และ HyperTonic คือเสียน้ำมากกว่าโซเดียม
อื้ม นี่ล่ะค่ะ ที่มาที่ไป
กลับมาที่การขาดน้ำแบบ ไฮโปกับไอโซ-โทนิกกันค่ะ
ย่อหน้านี้เกิร์ลขอให้ข้อมูลว่า
เกลือแร่ทดแทนการเสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย เป็นน้ำเกลือแร่แบบ HypoTonic
ส่วนเกลือแร่ทดแทนการเสียเหงื่อจากการท้องเสีย เป็นน้ำเกลือแร่แบบ IsoTonic
มาถึงตอนนี้ คุณผู้ชมก็มีคำตอบให้กับตัวเองแล้วนะคะว่า
ทำไมใช้เกลือแร่ทดแทนการเสียเหงื่อกับเกลือแร่ทดแทนการขาดน้ำจากการท้องเสียทดแทนซึ่งกันและกันไม่ได้
คุณผู้ชมคะ.. อาจมีคุณผู้ชมส่วนหนึ่งสงสัยว่า การเสียเหงื่อจากกีฬา ไม่ดื่มเกลือแร่(แบบHypoTonic)ได้ไหม
คำตอบ "ได้ค่ะ" เหตุผลคือ
ร่างกายจะมีกลไกเพื่อความอยู่รอด การเสียเหงื่อแต่เพียงเล็กน้อย(เสียน้ำน้อยกว่าโซเดียม) เราจะเสียโซเดียมมากกว่าน้ำ
เมื่อเราเสียโซเดียมไป ร่างกายเรามีโซเดียมน้อยลง ร่างกายจะดูดกลับโซเดียมมากขึ้นขับออกน้อยลง
(ปกติไตเราจะขับโซเดียมออกไปกับปัสสาวะ ถ้าเราเสียโซเดียมไม่มากการกูดโซเดียมที่ปกติจะขับออกก็เพียงพอ)
คนที่เสียเหงื่อไม่มาก แค่ได้รับน้ำทดแทนการขาดน้ำจึงพอเพียงแล้วค่ะ
บล๊อกก่อนหน้าเกี่ยวกับโออาร์เอส : ใช้น้ำร้อนละลายORSได้ไหม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น